4 ก.ย. 2566
สหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค. สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย
และ อัตราการว่างงานปรับขึ้นสู่ระดับ 3.8% สูงที่สุดในรอบ 18 เดือน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น 4.3% ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อย บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ
ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.6 ในเดือนส.ค. สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 47.0 ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวทิศทางแข็งค่า
ช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.126 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.24
28 ส.ค. 2566
นายเจอโรม พาวเวล กล่าวในการประชุมประจำปีเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ไวโอมิง ว่าเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าได้ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดแล้ว
และเฟดพร้อมที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไป และจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปจนกว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงอย่างยั่งยืน ...
ค่าเงินบาทปรับตัวอยู่ในกรอบแคบหลังจากแข็งค่าขึ้นหลังสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจนขึ้นหลังมีนายกรัฐมนตรี
โดยนักลงทุนติดตามความคืบหน้าของการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ในสัปดาห์นี้
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.27 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.08
7 ส.ค. 2566
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่ง
ในเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง ...
โดยนักลงทุนมองตัวเลขการจ้างงานที่ต่ำกว่าคาด อาจเป็นปัจจัยชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ และอาจยุติการคุมเข้มนโยบายการเงิน ทั้งนี้อัตราการว่างงานปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.5%
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.10 เทียบดอลลาร์สหรัฐ แม้ยอดค้าปลีกของยูโรโซนปรับตัวลดลงเมื่อเทียบรายปี จากข้อมูลการจ้างงานสหรัฐที่อ่อนแอกว่าคาด
โดยปัจจัยที่ยังต้องติดตามต่อเนื่อง ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ ตัวเลขเงินเฟ้อไทย และ สถานการณ์การเมือง
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.70 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.08
Read more31 ก.ค. 2566
สหรัฐรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไปปรับตัวขึ้น 3.0%ในเดือนมิ.ย.
เมื่อเทียบรายปีและ ชะลอตัวลงจาก 3.8% ในเดือนพ.ค. ...
ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 4.1% ในเดือน มิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลงจาก 4.6% ในเดือน พ.ค. โดยนักลงทุนมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดสัปดาห์ก่อนมาที่ระดับ 5.25%-5.50% น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า
ขณะที่บริษัทมากกว่าครึ่งใน S&P 500 รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ สะท้อนว่าการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐไม่รุนแรง
เช้านี้ดอลลาร์บาท ซื้อขายอยู่ที่ 34.21 ส่วนดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.64
Read more24 ก.ค. 2566
ในการประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้ 25-26 ก.ค. นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.8% ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%
ดยตลาดพันธบัตรสหรัฐยังคงเป็นภาวะ Inverted Yield Curve ...
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี อยู่ระดับ 4.85% ยังสูงกว่า พันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ 3.84% ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% กลางสัปดาห์นี้เช่นกัน
ค่าเงินบาทปรับตัวแนวอ่อนค่าเล็กน้อย โดยความไม่ชัดเจนทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลอาจส่งผลต่อค่าเงินบาทในระยะสั้น
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.49 และดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 101.30
Read more3 ก.ค. 2566
สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคล PCE (Personal Consumption Expenditure) ทั่วไป ปรับขึ้น 3.8% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบรายปี ...
ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อย และเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน เป็นไปตามการคาดการณ์ สะท้อนการลดแรงกดดันที่เฟดอาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ
ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการออ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ หลังจากอ่อนค่าไปแตะระดับ 35.7 เมื่อกลางสัปดาห์ ทั้งนี้หากการเมืองไทยมีทิศทางเชิงบวกเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล อาจส่งผลต่อการแข็งค่าต่อเนื่องขึ้นของค่าเงินบาท
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.29 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.99
Read more26 มิ.ย. 2566
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวในทิศทางแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก จากแรงหนุนการคาดการณ์ว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง ...
แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มอ่อนแอลง จากการเปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่อ่อนแอลง โดยเจ้าหน้าที่เฟดให้ความเห็นว่าตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ตัวเลขดัชนี PMI ของยูโรโซนสะท้อนความอ่อนแอของการขยายตัวของธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินปลอดภัย
เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐและปัจจัยภายในความไม่แน่นอนทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.23 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่102.73
Read more12 มิ.ย. 2566
สัปดาห์นี้ นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) ในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. และการประชุมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธที่ 14 มิ.ย. โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 70% ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ...
ขณะเดียวกัน ธนาคารขนาดใหญ่ของจีนปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากในเงินสกุลหยวนตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเป็นการลดต้นทุนการกู้ยืม และ กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการบริโภคและการลงทุน โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนมีการชะลอตัว ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับทั่วโลก
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.71 และดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 103.67
Read more29 พ.ค. 2566
การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐมีความคืบหน้าและมีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงร่วมกันทันวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเงื่อนไขคือการยืดหนี้ออกไปอีก 2 ปีและมีการจำกัดค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณด้านต่างๆเพิ่มเติม ...
กระทรวงพาณิชย์พาณิชย์สหรัฐรายงานตัวเลข ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพือการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป และพื้นฐานปรับเพิ่ม 4.4% และ 4.7% ในเดือน เม.ย. เทียบรายปี สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย โดยล่าสุดนักลงทุนให้น้ำหนัก 65.4% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้
เงินบาทปรับตัวทิศทางอ่อนค่าจากปัจจัยภายนอกที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และปัจจัยภายในเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลและนโยบายภาษีต่างๆของพรรคร่วมรัฐบาล
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.80 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.30
Read more22 พ.ค. 2566
นักลงทุนคาดการณ์เฟดอาจหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. หลังตัวเลขเงินเฟ้อออกมาค่อนข้างเป็นตามคาดและการขึ้นดอกเบี้ยอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐและระบบธนาคาร ...
ขณะที่การเจรจาการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐยังคงไม่มีข้อสรุป โดยหากไม่มีการปรับเพิ่มอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในตลาดการเงิน เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้อย่างเร็วที่สุดวันที่ 1 มิ.ย.นตลาดการเงิน เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้อย่างเร็วที่สุดวันที่ 1 มิ.ย.
เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย หลังจากปรับตัวอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยนักลงทุนคอยจับตาสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง การจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายของรัฐบาลใหม่
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.40 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.0
Read more8 พ.ค. 2566
สหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรแข็งแกร่งกว่าคาด ที่ 253,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.4% ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายปี และอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงยังคงเพิ่มขึ้นทั้งรายเดือนและรายปี สะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานในสหรัฐ ...
ทั้งนี้หลังจากการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ของเฟดเมื่อสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ระดับ 5.00-5.25% เฟดได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งหน้า แต่จะยังไม่เห็นการลดดอกเบี้ย เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และการเศรษฐกิจถดถอยยังเป็นความเสี่ยง
ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวในทิศทางอ่อนค่าเทียบเงินสกุลหลัก
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.01 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.18
Read more24 เม.ย. 2566
สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 53.5 ในเดือนเม.ย. ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนการขยายตัวของภาคธุรกิจในประเทศ โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 89.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 2-3 พ.ค....
ขณะเดียวกัน รายงาน PMI เดือนเม.ย. ของสหภาพยุโรป และ อังกฤษ ออกมาที่ 54.4 และ 53.9 ตามลำดับ สูงกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้ค่าเงินยูโรและปอนด์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเทียบดอลลาร์สหรัฐ ตลาดจับตารายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE และ รายงานผลประกอบการบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เพื่อดูทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงครึ่งปีหลัง
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.50 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.73
Read more10 เม.ย. 2566
กะทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 236,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 238,000 ตำแหน่งและ ถือเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ปลายปี 2563 โดยอัตราว่างงานลดลงเล็กน้อยที่ 3.5% และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้น 4.2% เทียบรายปี นับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564...
ตัวเลขดังกล่าวยังคงสะท้อนความแข็งแรงของเศรษฐกิจสหรัฐขณะที่ความร้อนแรงที่ลดลง โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 66.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% และน้ำหนัก 33.7% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.75-5.00% ในการประชุมต้นเดือน พ.ค. 2566 ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.27 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.18
Read more3 เม.ย. 2566
สหรัฐรายงานเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 4.7% โดยตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นขานรับการคาดการณ์ชะลอตัวของการขึ้นดอกเบี้ย และ ปัญหาสถาบันการเงินเริ่มปรับตัวทิศทางผ่อนคลาย...
โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตามตลาดคาดและคาด GDP ไทยเติบโตที่ 3.6% ในปี 2566 โดยเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.9% ขณะที่ประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยปีนี้ 28 ล้านคนก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านคน ในปี 2567
เช้านี้โอเปกพลัสประกาศลดกำลังการผลิต 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้น้ำมันดีดตัวแรง และทำให้ตลาดมองว่าเงินเฟ้ออาจปรับตัวสูงขึ้นใหม่
เช้านี้ดอลล่าร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.28 และ ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 102.84
Read more27 มี.ค. 2566
เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตามตลาดคาด พร้อมให้ความเชื่อมั่นว่า ระบบธนาคารในอเมริกาไม่ได้เผชิญกับวิกฤติสภาพคล่อง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะ 2 ปี ปรับตัวลดลงอยู่ระดับ 3.80% และยังคงสูงกว่าระยะ 10 ปี ที่ 3.39...
ขณะที่ตลาดหันมากังวลกับเสถียรภาพของดอยซ์แบงก์ (Duetsche Bank) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี หลังจากตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคธนาคารสหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่า
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.25 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.08
Read more13 มี.ค. 2566
เกระทรวงแรงงานเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 311,000 ตำแหน่ง สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ตำแหน่ง แต่ชะลอตัวลงจากระดับ 504,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.6% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 3.4%...
ขณะเดียวกัน นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของภาคการเงินการธนาคารสหรัฐ หลังธนาคารซิลิคอน วาเลย์ (SVB) ถูกสั่งปิดกิจการหลังประสบปัญหาสภาพคล่อง และ การขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตร จากการขึ้นดอกเบี้ยที่รวดเร็วของเฟดในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าผลกระทบอาจเกิดเป็นวงกว้างสำหรับธนาคารขนาดกลางเล็กในสหรัฐ หากผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินจากธนาคารเช่นเดียวกับกรณี SVB โดยเฟดมีนัดประชุมฉุกเฉินคืนวันนี้ 13 มี.ค.
โดยนักลงทุนปรับการให้น้ำหนักเหลือเพียง 16.40% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% และ น้ำหนัก 82.60% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 21-22 มี.ค. และดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยเทียบเงินสกุลหลัก
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.73 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.15
Read more27 ก.พ. 2566
สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป เดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.7% สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 4.4% ส่งผลให้นักลงทุนมองว่าเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยง และ กลับมาให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งถัดไป...
เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก ส่วนตลาดพันธบัตรสหรัฐยังคงเป็นภาวะ Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้การเกิดเศรษฐกิจถดถอย โดยปัจจุบันผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 2 ปีอยู่ที่ 4.81 % และ ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี อยู่ที่ 3.93%
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.98 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 105.18
Read more20 ก.พ. 2566
หลังจากการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่สูงกว่าคาดเล็กน้อย บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น นางมิเชล โบว์แมน กล่าวว่า เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการจัดการเงินเฟ้อ โดยตลาดยังคงมีความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในครั้งถัดไป...
ตัวเลข GDP Q4/65 ของไทยออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไปมาก โดยขยายตัวเพียง 1.4% เมื่อเทียบรายปี และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.5% โดยตัวเลข GDP ถูกกดดันจากการหดตัวภาคการส่งออก และการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ GDP ปี 2565 เติบโตเพียง 2.6%
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.38 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.3
Read more13 ก.พ. 2566
เผลสำรวจมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 66.4 ในเดือน ก.พ. สูงกว่าเดือน ม.ค. และสูงกว่าคาดการณ์ที่ 65.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจปัจจุบันก็ปรับตัวขึ้นที่ 72.6 เช่นกัน โดยตัวเลขความเชื่อมั่น และสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจาก เจ้าหน้าที่เฟด ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้...
นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐและถ้อยแถลงของเฟดในวันอังคารนี้ (14 ก.พ.)
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.775 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.7
Read more6 ก.พ. 2566
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 517,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. 2566 สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง และ อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.4% ต่ำกว่าคาดการณ์และถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าคาดการณ์...
ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐกลับมาปรับตัวแข็งค่าโดยนักลงทุนมองว่า เฟดน่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.565 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.19
Read more30 ม.ค. 2566
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป และ พื้นฐาน เพิ่มขึ้น 5.0% และ 4.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์นักวิเคราะห์และ ถือเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน ก.ย.2564 โดยตลาดมองว่าเงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดสูงสุดแล้ว...
นักลงทุนจับตาการประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้ รวมถึงถ้อยแถลงของรายเจอโรม พาวเวล ซึ่งอาจส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด หลังตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัว
ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. สู่ระดับ 4.50 - 4.75%
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 32.77 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.0
Read more9 ม.ค. 2566
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง ในเดือน ธ.ค. สูงกว่าคาดการณ์ที่ 200,000 ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.3% เทียบรายเดือน และ 4.6% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 5.0% ส่วนรายงานดัชนีราคาภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing PMI) ปรับตัวลงสู่ระดับ 67.6 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี สะท้อนความชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถือ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า...
ขณะเดียวกัน เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบกว่า 8 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และ แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดและการเปิดประเทศของจีน โดยประเทศไทยน่าจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวชาวจีน
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.66 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.79
Read more19 ธ.ค. 2565
นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ให้ความเห็นว่าเฟดยังคงเน้นย้ำให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2.0% และมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยต้องการเห็นหลักฐานทางตัวเลขเพิ่มเติมมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าปัจจัยกดดันทางราคาได้คลี่คลาย...
สหรัฐรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวลดลงที่ระดับ 44.6 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน โดยเกิดจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.77 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.57
Read more13 ธ.ค. 2565
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI (Producer Price Index) สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 7.4% ขณะที่นักลงทุนจับตาการรายงานตัวเลขดัชนี CPI และผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟดมาวันที่ 13-14 ธ.ค. นี้ รวมทั้งถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในรอบนี้ หลังจากได้เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% 4 ครั้งติดต่อกันา...
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.78 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.99
ปัจจัยสำคัญในประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันพุธที่ 30 พ.ย. และ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยนอกประเทศได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 36.025 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 106.45
Read more28 พ.ย. 2565
ดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นในกรอบแคบ จากการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดซึ่งส่ง สัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วงสัปดาห์ก่อน โดยนักลงทุนคาดการณ์ ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. หลังจาก ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันจำนวน 4 ครั้งก่อนหน้า...
ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐมีการซื้อขายเบาบางหลังวันหยุดต่อเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
ปัจจัยสำคัญในประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันพุธที่ 30 พ.ย. และ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยนอกประเทศได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน
เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 36.025 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 106.45
Read more